วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื่อหา โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)


แผน IEP
     แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP


  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย


  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก


  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู


  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง


  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล


  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน


  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย


  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว


  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
  • น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  • น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น


  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
  • ใคร
  • อะไร
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน
  • ดีขนาดไหน

3. การใช้แผน


  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึงขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  • ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  • อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

   การนำความรู้ที่ได้นำไปเขียนแผนเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

การประเมิน

การประเมินตนเอง
  วันนี้ตั้งใจเรียนและจดบันทึก

การประเมินเพื่อน

   เพื่อนทุกคนมาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน

การประเมินอาจารย์

   อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนได้เข้าใจ



บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560

เวลา 08.30-12.30 น.


"นักศึกษาไปเข้าค่ายฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง"
ณ ค่ากฐิน กุยยกานนทท์ 
จังหวัดสมุทรปราการ



บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2560


เวลา 08.30-12.30 น.

"ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดสงกรานต์"



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560
เวลา 08.30-12.30 น.


***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ***



บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560
เวลา 08.30-12.30 น.



***ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ลากิจ***



บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560
เวลา 08.30-12.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ












•เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
•ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
•เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
เกิดผลดีในระยะยาว
เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทาง
วิชาการ
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล   (Individualized Education Program; IEP)
โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) นิยม
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) นิยม
การฝังเข็ม (Acupuncture)
การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

กิจกรรมมือของฉัน
อาจารย์ให้ทำกิจกรรมมือของฉัน คือให้วาดรูปมือตัวเองลงไปในกระดาษโดนห้ามดู และใส่รายละเอียด
ลงไปให้ได้มากที่สุด เช่น ลายมือ แล้วส่งอาจารย์ จากนั้นอาจารย์จะให้เพื่อนออกไปหาว่ามือนั้นเป็นของ
ใคร เปรียบเสมือนการสังเกตุเด็ก เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมควรรีบจดบันทึก 







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้เรียนรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมของเด็ก ทำให้เรามีวิธีการที่ถูกต้องที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง

ประเมินเมิน
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ไม่พูดคุยเสียงดังระหว่างเรียน

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาดี มีรูปภาพประกอบทำให้เราคิดภาพตามได้ง่ายยิ่งขึ้น มีความเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศในการเรียนอบอุ่นและมีความผ่อนคลายไม่ตึงเคลียด

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา


•การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
•การศึกษาพิเศษ (Special Education)
•การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
•การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกัน
เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง 
ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การศึกษาสำหรับทุกคน
รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล










การวาดรูปดอกบัวตามแบบโดยให้เราเก็บรายละเอียดของภาพให้ได้มากที่สุด  เปรียบเสมือนการสังเกตุเด็ก ที่เราต้องสังเกตุเด็กอย่างละเอียดและมีความครบถ้วนสมบูรณ์

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก(จะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย)
เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างการเรียนรวมและการเรียนร่วม  รู้ถึงบทบาทของครูว่า
มีหน้าที่อย่างไร ทราบถึงความสำคัญของการสังเกตุและการจดบันทึก 

ประเมินผล
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนและตั้งใจวาดรูปดอกบัว ไม่พูดคุยเสียงดัง
ประเมินอาจารย์
มีกิจกรรมมาให้ทำ ทำให้การเรียนไม่ตึงเครียด บรรยากาศในการเรียนมีความอบอุ่นและมีความเป็น
กันเอง